วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

0201122


ประมวลรายวิชา

1. รหัสวิชา                            0201122
2. จำนวนหน่วยกิต              3 หน่วยกิต (3-0-6)
3. ชื่อวิชา                             การจัดการสาธารณภัย (MGT OF PUBLIC DISASTER)
4. คณะ/ ภาควิชา                สำนักงานจัดการศึกษาทั่วไป
5. ภาคการศึกษา                 ภาคต้น
6. ปีการศึกษา                      2556
7. ชื่อผู้สอน                          รศ. สพ.ญ. ดร. อนงค์ บิณฑวิหค และคณะ
   ผู้ประสานงานรายวิชา    รศ. สพ.ญ. ดร. อนงค์ บิณฑวิหค
8. เงื่อนไขรายวิชา              ไม่มี
9. สถานภาพของวิชา        วิชาเลือก กลุ่มสหศาสตร์
10. ชื่อหลักสูตร                   การศึกษาทั่วไป
11. วิชาระดับ                       ปริญญาตรี
12. จำนวนชั่วโมง               3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ วันอังคาร 13:00-16:00 น. ห้อง 101 อาคารวิทยพัฒนา
13. เนื้อหารายวิชา
                ความหมาย ประเภท และการเกิดของ สาธารณภัย การเฝ้าระวังเพื่อช่วยเหลือตนเอง และผู้อื่นให้พ้นจากสาธารณภัย ผลกระทบของสาธารณภัย กระบวนการบริหารจัดการดูแลช่วยเหลือ และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และสังคม รวมทั้งผู้ประสบภัย
14. ประมวลการเรียนรายวิชา ภายหลังที่เรียนวิชานี้แล้ว นิสิตจะมีความสามารถดังนี้
14.1 วัตถุประสงค์ทั่วไปและ/หรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมภายหลังที่เรียนวิชานี้แล้ว นิสิตจะมี ความสามารถดังนี้
14.1.1 อธิบายความหมาย และประเภทของสาธารณภัย
14.1.2 ระบุความผิดปกติของสภาพแวดล้อมรอบตัวที่อาจก่อให้เกิดสาธารณภัย
14.1.3 ประเมินความเสี่ยงอันตราย และอธิบายขั้นตอนในการควบคุมป้องกัน และแก้ไขเพื่อช่วยเหลือตนเอง และผู้อื่นจากเหตุการณ์สาธารณภัยประเภทต่าง ๆ
14.14 บรรยายผลกระทบที่เกิดจากสาธารณภัยทั้งต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
14.1.5 อธิบายกระบวนการจัดการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสาธารณภัย
14.2 เนื้อหารายวิชาต่อสัปดาห์ ตามตารางเรียนที่แนบด้านหลัง
14.3 วิธีจัดการเรียนการสอน              
þ การบรรยาย
þ การระดมสมอง และการอภิปราย เพื่อให้รู้จักการวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา
þ การศึกษาดูงานฝึกงาน เพื่อให้รู้จักการสังเกต และวิเคราะห์ปัญหา
þ การฝึกทักษะปฏิบัติการ
 14.4 สื่อการสอน
þ เอกสารการสอน                                                    þ แผ่นใสและแผ่นทึบ
þ สื่อนำเสนอในรูปแบบ Multimedia Presentation     þ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ เว็บไซต์
 14.5 การมอบหมายงาน ผ่านระบบเครือข่าย
14.5.1 ข้อกำหนดวิธีการมอบหมายงาน และส่งงานใน    “Blackboard”
 14.6 การวัดผลการเรียน
14.6.1 การประเมินความรู้ทางวิชาการ                               ร้อยละ 50
14.6.2 การทำรายงานประจำภาคเรียน                               ร้อยละ 25
14.6.3 การสรุปประเด็นสำคัญ (บันทึกท้ายคาบ)                 ร้อยละ 10
14.6.4 การเข้าชั้นเรียน                                                     ร้อยละ 10
14.6.5 การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน                                         ร้อยละ  5
15 รายชื่อหนังสืออ่านประกอบ
  15.1 เอกสารที่แจกให้ในชั้นเรียน
  15.2 หนังสืออ่านเพิ่มเติม
พงศ์กฤษณ์ เสนีวงศ์. การบริหารงานป้องกันและควบคุมสาธารณภัย. นครปฐม: ฝ่ายการอบรม โครงการการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยมหิดล. 2538.
สุดาพร นิ่มมา. อุตุนิยมวิทยากับความปลอดภัยของมนุษยชาติ. กรุงเทพมหานคร: กรมอุตุนิยมวิทยา, 2534.
เอกสารการเรียนการสอน ชุดวิชา 50402 บรรเทาสาธารณภัย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2532.
  15.3 บทความวิจัย/บทความวิชาการ ตามที่กำหนดให้ในชั้นเรียน
  15.4 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
                                กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย            www.disaster.go.th
                                กรมสุขภาพจิต                                            www.dmh.moph.go.th
                                สำนักข่าวกรองแห่งชาติ                              www.nia.go.th
                                สภากาชาดไทย                                           www.redcross.or.th
                                กรมอุตุนิยมวิทยา                                         www.tmd.go.th
16. การประเมินผลการสอน
 16.1 การประเมินการสอน ใช้แบบประเมินผลการสอนกลุ่มสหศาสตร์ สำนักงานจัดการศึกษาทั่วไป
 16.2 การปรับปรุงจากผลการประเมินการสอนครั้งที่ผ่านมา มีการปรับปรุงจากผลการประเมินในภาคต้น ปีการศึกษา 2555
 16.3 การอภิปรายหรือการวิเคราะห์ที่เสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1. มีความรู้ ในเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์
2. มีทักษะ ในการจัดการตนเองหากตกอยู่ในสาธารณภัย
3. มีความตระหนัก มีความใฝ่รู้ วิเคราะห์ และประเมินความเสี่ยง รวมทั้งปลูกฝังความมีจิตอาสาต่อส่วนรวม
4. มีส่วนร่วม ในการสร้างผลงานเพื่อช่วยเหลือสังคมในการป้องกันสาธารณภัย

คำอธิบายกิจกรรมการศึกษา
การบรรยาย หมายถึง การเรียนการสอนเน้นการบรรยายในชั้นเรียนจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ หรือคณาจารย์ ดังนั้นการเข้าฟังบรรยายในรายวิชาอย่างสม่ำเสมอ และตั้งใจจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ประจำวัน หรือความรู้ที่มีอยู่เดิมเพื่อให้เกิดแนวความคิด และเพื่อเกิดเป็นแนวทางในการแก้ไข  ซึ่งจะนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการจัดการดูแลตนเอง และผู้อื่นต่อไป
บันทึกท้ายชั่วโมง หมายถึงการสรุปประเด็นสำคัญส่วนบุคคล ที่ได้รับจากการฟังบรรยาย และสาธิตจากวิทยากรหรือคณาจารย์ ส่งท้ายชั่วโมงสาระการบันทึกจะประกอบด้วยประเด็นตามใบงานที่แจกในชั้นเรียน
การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน หมายถึง การร่วมซักถามในประเด็นที่มีการบรรยายให้ความรู้ในชั้นเรียนและการอภิปรายประเด็นสำคัญต่าง ๆ ร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียนซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างผู้บรรยายกับนิสิต ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงท้ายของการเรียนการสอนในแต่ละสัปดาห์
การฝึกทักษะปฏิบัติการ หมายถึงการร่วมปฏิบัติกิจกรรมในระหว่างการเรียนการสอน ซึ่งจะเป็นการบรรยายในช่วงแรก และช่วงที่สองจะมีกิจกรรมกลุ่ม หรือการสาธิตเพื่อให้เกิดทักษะ ความรู้ที่น่าสนใจในแต่ละหัวข้อการเรียน ซึ่งทักษะที่ได้นี้ สามารถนำไปใช้ช่วยเหลือ ป้องกันตนเอง และผู้อื่นเมื่อเกิดเหตุสาธารณภัยขึ้น
การทัศนศึกษา หมายถึง การร่วมปฏิบัติกิจกรรมนอกสถานที่ในหน่วยงานด้านการจัดการสาธารณภัย เป็นการดูงานเพื่อสังเกตุการณ์ และฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในแต่ละหน่วยงานนั้น ๆ ที่ได้จัดมาอบรม ซึ่งนิสิตจะได้ความรู้ที่มีประโยชน์ เพื่อช่วยเหลือตัวเอง และพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่นได้ 
การนำเสนอรายงานการวิเคราะห์กรณีศึกษา หมายถึง การประมวลความรู้จากหน่วยงานต่าง ๆ และทำบันทึกของแต่ละบุคคลใส่ไว้ในรายงาน และการนำเสนอรายงานให้เพื่อนร่วมชั้นเรียนได้รับฟัง โดยทำเป็นกลุ่ม มีการซักถาม และแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านสาธารณภัย จากประสบการณ์ที่ได้รับรู้จากหน่วยงานต่าง ๆ
เกณฑ์การวัด และประเมินผล
1. การเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน                                                                10%
การเข้าฟังบรรยายในชั้นเรียน และการไปทัศนศึกษานอกสถานที่ โดยไม่ขาดเรียนเกิน 80% ของเวลาเรียน และไม่เข้าสายเกิน 15 นาที ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าชั้นเรียนได้ ให้ส่งหนังสือแจ้งเหตุการลา และมีผู้รับรอง
2. การสรุปประเด็นสำคัญ (บันทึกท้ายคาบ)                                                            10%
นำความรู้ที่ได้จากการฟังบรรยายมาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการบรรยายของอาจารย์หรือวิทยากรประจำสัปดาห์ เพื่อให้เกิดสาระความรู้ และนิสิตเองควรซักถามเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความรู้ที่หลากหลายในการวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาลงในใบงานบันทึกท้ายชั่วโมงทุกครั้ง
3. การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน                                                                                        5%
ประกอบด้วยการอภิปรายประเด็นสำคัญต่าง  ๆ การซักถามกับวิทยากร การปฏิบัติกิจกรรมฝึกทักษะ ตามมอบหมายของวิทยากรหรืออาจารย์ รวมทั้งมีความตั้งใจ และสนใจในการฟังบรรยายอย่างสม่ำเสมอ
4. รายงานการวิเคราะห์กรณีศึกษา                                                                           25%
ประกอบด้วยผลการศึกษา การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน และรูปเล่มรายงาน โดยชี้แจงเรื่องความเป็นมา วัตถุประสงค์ สาระความรู้ การประเมินความคิดเห็นที่มีต่อการดำเนินงานของกลุ่ม โดยภาคผนวกควรประกอบด้วย ความคิดเห็น การบันทึกข้อมูลรายบุคคลต่อการทำรายงาน  ซึ่งภาคผนวกนี้จะให้คะแนนรายบุคคล

5. การประเมินความรู้ทางวิชาการ                                                                             50%
เป็นการสอบปลายภาคด้วยคำถามแบบบูรณาการจากการเรียน ซึ่งอาจเป็นข้อสอบปรนัย อัตนัย การประเมินผลความรู้ เน้นการนำไปใช้ และการแสดงความคิดเห็นของนิสิต
        















      

วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

โครงการจิตอาสา วิชา การป้องกันและควบคุมมลพิษ(P2 Control)


โครงการจิตอาสา วิชา การป้องกันและควบคุมมลพิษ(P2 Control)

โครงการ รักโลกลด(บุ)หรี่



ผู้รับผิดชอบ                         ผศ.ดร.พันธวัศ สัมพันธ์พานิช                   
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อชี้ให้เห็นถึงผลกระทบจากสารพิษ สารเคมีในควันบุหรี่ที่จะมีต่อสภาพอากาศและสุขภาพอนามัยของประชนในบริเวณสามย่านที่มีการสูบบุหรี่ 
  2. เพื่อเชิญชวน โน้มน้าว รณรงค์ และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ประชาชนในบริเวณสามย่านนั้นคำนึงถึงผลเสียของการสูบบุหรี่ และรณรงค์ให้ประชาชนลด ละ เลิกการสูบบุหรี่
ขั้นตอนและกระบวนการดำเนินโครงการ/กิจกรรม เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
การทำกิจกรรมนี้จะจัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์ ในหัวข้อ “รักโลกลด(บุ)หรี่” เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงควันบุหรี่ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะโลกร้อน โดยโครงการจะสนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่สามย่านลด ละ และเลิกสูบบุหรี่ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อทั้งสุขภาพของตนเอง และผู้อื่นโดยรอบ รวมทั้งมีผลดีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งมีการแบ่งขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
1. ประชุมเพื่อเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับหัวข้อโครงการ  โดยกำหนดหัวข้อให้สัมพันธ์กับหัวข้อที่ได้รับมอบหมายงาน และมีการลงมติเพื่อรับรองโครงการ
2. วางแผนขั้นตอนการทำงานโดยแจกแจงรายละเอียดของแต่ละขั้นตอน  รวมทั้งแบ่งหน้าที่ที่แต่ละคนต้องรับผิดชอบ  เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
3. ค้นหาและรวบรวมข้อมูล โดยนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาเปรียบเทียบ และคัดเลือกข้อมูลที่น่าสนใจ และมีแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
4. จัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์ โดยนำข้อมูลที่ต้องการนำเสนอมาใช้ แผ่นพับ สติ๊กเกอร์ ที่คั่นหนังสือ ลูกอม หมากฝรั่ง และอื่นๆ 
5. ทำการลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ความรู้และข้อมูลแก่ประชาชน พร้อมทั้งรณรงค์ในการงดสูบบุหรี่ และมีการใช้แบบสอบถามแสดงความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ และข้อมูลแสดงว่ามลพิษทางอากาศจากการสูบบุหรี่ลดน้อยลง
6. สรุปผลกิจกรรมทั้งหมด
 
ช่วงเวลา-สถานที่ที่ทำโครงการ/กิจกรรม
  ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2555 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556 ณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริเวณสามย่าน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ






กิจกรรม Cuvip "สบู่ Home made"


กิจกรรม Cuvip



สบู่ Home made


ผู้รับผิดชอบ                         อ.ปริญญา ผ่องพุดพันธ์
ลักษณะกิจกรรม                  บรรยาย อภิปราย และ การฝึกปฏิบัติ             
กรอบเนื้อหาสาระ               เรียนรู้วิธีและขั้นตอนการทำสบู Home Made
จำนวนชั่วโมง                      3 ชม







กิจกรรม Cuvip "เทคนิคการทำอาหารง่ายๆ ไสตล์คนรุ่นใหม่"



เทคนิคการทำอาหารง่ายๆ ไสตล์คนรุ่นใหม่

ผู้รับผิดชอบ                         คุณกิตติ ทองศรี
ลักษณะกิจกรรม                  บรรยาย อภิปราย และ การฝึกปฏิบัติ             
กรอบเนื้อหาสาระ               ผู้เรียนจะได้ทดลองฝึกปฏิบัติและเรียนรู้เทคนิควิธีการทำอาหารอร่อย มากด้วยคุณประโยชน์ แต่ง่าย เร็ว และสะดวกตามสไตล์คนรุ่นใหม่ พร้อมทั้งได้สร้างสรรค์อาหารแปลกๆ ตามที่ตนเองต้องการ หมายเหตุ วิทยากรเป็นผู้เขียนหนังสือ A Man in The Kitchen
จำนวนชั่วโมง                      3 ชม







กิจกรรม Cuvip "พื้นฐานการเต้น Hip Hop"

พื้นฐานการเต้น Hip Hop


 
ผู้รับผิดชอบ                         คุณพิพัฒน์ พัฒนพร้อมสุข และคณะ
ลักษณะกิจกรรม                  บรรยาย อภิปราย และ การฝึกปฏิบัติ             
กรอบเนื้อหาสาระ               เรียนรู้พื้นฐานการเต้นฮิพฮอพเบื้องต้น พร้อมทั้งทักษะในการเต้น
จำนวนชั่วโมง                      6 ชม