วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สมุดกระดาษหน้าเขียว


โครงการ   สมุดกระดาษหน้าเดียว

" สมุดกระดาษหน้าเดียว "


ชื่อวิชา สิ่งแวดล้อมกับชีวิตประจำวัน



อาจารย์ที่ปรึกษา  อาจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล


นิสิตที่เข้าร่วมโครงการ

1.   นางสาวดวงจันทร์    นิสสัยสุข                          2.   นางสาวนภัส             เพิ่มพูล          
3.   นางสาวสุนิสา           ฉุ้นย่อง                           4.   นางสาวธัญพิชชา      นันทพล      
5.   นางสาวธนัชพร        วุฒิเจียรนัย                      6.   นายชาญพิชญ์           ลิมปนะเวช  
7.   นางสาวปิยาภา          วสันต์ชื่นโชคชัย             8.   นางสาวเพ็ญพิชชา    วิบูลย์ปิ่น     
9.   นางสาวรุจรดา          ชุมพลไพศาล  




ช่วงเวลา-สถานที่ที่ทำโครงการ 

      14 .. – 14 .. 2556 โดยจัดทำสมุดที่มหาวิทยาลัยและที่บ้าน และนำไปแจกที่ชุมชน
จุฬานิวาส

         
ที่มาและความสำคัญ

           เนื่่องจากทุกวันนิสิตมีกระดาษเหลือค่อนข้างเยอะจากเอกสารประกอบการเรียนการสอนที่ส่วน
ใหญ่เป็นกระดาษที่ใช้ไปเพียงหน้าเดียว จึงมีความคิดที่จะนำมารีไซเคิลโดยการนำมาเย็บเล่มเป็นสมุด
เพื่อให้ใช้ประโยชน์ด้านที่ยังเหลือ โดยการนำไปมอบให้แก่เด็กในชุมชน ซึ่งนอกจากที่เด็กในชุมชนจะไม่
ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อสมุดแล้ว ยังเป็นการลดปริมาณขยะให้เหลือน้อยลงอีกด้วย



วัตถุประสงค์ 

     เพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจากการใช้กระดาษและนำทรัพยากรกระดาษที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์
สูงสุด, เพื่อเป็นประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อสมุดของเด็กในชุมชนและเพื่อเพิ่มทักษะในการทำงานเป็นก
ลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพ









ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ 

        ช่วยลดปริมาณขยะที่เกิดจากกระดาษ / ได้นำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด/ ช่วย
รณรงค์ให้มีการใช้กระดาษอย่างคุ้มค่าและ ได้พัฒนาทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม







    

ข้อคิดที่ได้รับจากการทำกิจกรรม

  •  มีความตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา การรู้จักเก็บออม สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของสังคมที่อาศัยอยู่
  •  การวางแผนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและการสื่อสารให้เข้าใจซึ่งกันและกันเป็นสิ่งที่สำคัญในการทำงานกลุ่ม
  •  การติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานภายนอกต้องทำให้ถูกต้อง มีหนังสือขออนุญาตชัดเจนและติดต่อกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประสานงานของหน่วยงานนั้นด้วยตนเอง ไม่ควรฝากเอกสารสำคัญให้ผู้อื่นนำไปให้แก่ผู้เกี่ยวข้องกับการประสานงานของหน่วยงานนั้น











โครงการจิตอาสา "ปันสุขให้เด็กผู้ยากไร้"

โครงการจิตอาสา "ปันสุขให้เด็กผู้ยากไร้" 
วิชา ทรพัยากรของชาติ (National Resources)

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เตือนใจ โก้สกุล

นิสิตที่เข้าร่วมโครงการ
1.น..ปัณฑารีย์ โรจน์เลิศจรรยา          
2.น..กานดา กาญจโนนันท์               
3.น..รับขวัญ ยอดมณี
4.น.ส.วิธาวีร์ มณีวงษ์ชัยกิจ
5.นาย ทิชาคม ลัดพลี


ช่วงเวลา-สถานที่ที่ทำกิจกรรม : บ้านเด็กอ่อนพญาไท วันที่ 27 มกราคม 2556  เวลา 13.00 .

                 ทุกวันนี้เด็กอ่อนที่ถูกทอดทิ้งจากพ่อแม่มีเยอะมากขึ้นในสังคม เด็กเหล่านี้ขาดการดูแลที่ถูกต้องพร้อมกับอาจจะมีสภาพจิตใจที่หดหู่จากการชาดคนดูแลและขัดเกลานิสัย พวกเราจึงเลือกหนึ่งในบ้านเด็กอ่อน นั่นคือ บ้านเด็กอ่อนพญาไท ซึ่งเป็นที่รวมเด็กเหล่านี้เข้ามาอยู่ด้วยกันเพื่อความสะดวกต่อการดูแล เราจึงตัดสินใจที่จะลงมือทำโครงการนี้เพื่อให้เด็กอ่อนที่ถูกทิ้งมีสภาพจิตใจที่ดีต่อสังคม



วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นอาสาสมัครในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆภายในบ้านเด็กอ่อนพญาไท และบำเพ็ญประโยชน์ให้กับสังคมส่วนรวม พร้อมกับฟื้นฟูสภาพจิตใจและให้เวลากับเด็กๆ ลดความน้อยเนื้อต่ำใจที่ถูกทอดทิ้ง สอนให้เด็กๆมองโลกในแง่ดีว่าโลกนี้ยังมีสิ่งดีๆอีกมากมาย




ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

       มีโอกาสได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจเด็กๆที่ถูกทอดทิ้ง และทำให้เราสามารถตระหนักว่าเราโชคดีแค่ไหนที่ได้เกิดมาในครอบครัวที่มีทั้งพ่อ แม่ ญาติพี่น้อง


ความประทับใจในการดำเนินโครงการ


"จากการทำกิจกรรมโครงการจิตอาสาที่บ้านเด็กอ่อนพญาไท ข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจตั้งแต่วินาทีแรกที่ได้เห็นบรรยากาศและสภาพแวดล้อม ที่เด็กๆเหล่านี้อยู่โดยมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะข้าพเจ้าคิดว่าเด็กๆเหล่านี้น่าจะได้รับความอบอุ่นและการเอาใจใส่จาก เจ้าหน้าที่เป็นอย่างดี และนอกจากนี้ข้าพเจ้าก็รู้สึกดีใจมากที่ข้าพเจ้าได้เป็นส่วนหนึ่งในการส่ง มอบความสุขให้กับเด็กๆเหล่านี้โดยการช่วยทำความสะอาดศูนย์การเรียนรู้และนำ ขนมพร้อมเครื่องดื่มไปบริจาคให้ผ่านโครงการจิตอาสา"
รับขวัญ ยอดมณี

"ความประทับใจของดิฉันคือ การที่ได้พบปะและพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลงาน ดิฉันได้เห็นแล้วว่า บุคคลากรทุกคนมีบุคคลิกที่มีความคล้ายกันอย่างเห็นได้ชัดเลยคือ เป็นคนที่มีความสุภาพ ใจดี เมตตากรุณา และที่สำคัญ มีความเอาใจใส่กับงานอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยเห็นได้จากการดูแลความปลอดภัยของเด็กอย่างเข้มงวด แม้กระทั่งเรื่องเล็กๆน้อยๆ เช่นการทำความสะอาดบ่อบอลที่พวกเราได้ไปทำ เจ้าหน้าให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า ผลวิจัยมีผลสรุปแล้วว่า บ่อบอลเป็นแหล่งที่สะสมเชื้อโรคมากที่สุดในบรรดาของเล่นทั้งหลายและสิ่ง แวดล้อมในที่นั้น โดยรวมแล้วถือว่า เป็นสถานที่ที่เรียบร้อย สะอาด เพียงพอต่อการใช้สอย การตกแต่งซึ่งเหมาะสมกับเด็กๆ"
วิธาวีร์ มณีวงษ์ชัยกิจ


"การทำกิจกรรมจิตอาสาในครั้งนี้คือการล้างบ่อบอล ซึ่งถือเป็นสื่อการเรียนการสอนชนิดหนึ่งของน้องๆที่บ้านเด็กอ่อนพญาไท รู้สึกประทับใจในการทำโครงการจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ที่นี่ เมื่อเห็นน้องๆที่บ้านเด็กอ่อนพญาไทยแล้วทำให้รู้ว่าตัวเรานั้นมีความโชคดี ที่เกิดมาอย่างไม่ขาดตกบอพร่อง ขณะที่มีน้องๆหลายคนถูกทอดทิ้งอย่างน่าสงสาร ไม่มีโอกาสแม้กระทั่งได้เรียนหนังสือ การทำกิจกรรมในครั้งนี้จึงเปรียบเสมือนการทำความดีให้สังคมส่วนรวมโดยไม่ หวังผลตอบแทน" 
กานดา กาญจโนนันท์

ความประทับใจในการทำโครงการจิตอาสาที่บ้านเด็กอ่อนพญาไทในครั้งนี้ ทำให้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่จริงของน้องๆที่ถูกทอดทิ้งว่ามีความเป็นอยู่ อย่างไร และได้เป็นส่วนหนึ่งในการเป็นจิตอาสาทะนุบำรุงบ้านเด็กอ่อน ซึ่งนับวันจะมีเด็กถูกทอดทิ้งมากขึ้นเรื่อยๆ โครงการที่ได้ทำนั้นคือการล้างบ่อบอล นอกจากจะทำให้รู้สึก ตื้นตัน อิ่มอกอิ่มใจในการบำเพ็ญประโยชน์แล้ว ในขณะเดียวกันยังได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เพิ่มความสามัคคีในหมู่คณะอีกด้วย  
                                                                                                      ปัณฑารีย์ โรจน์เลิศจรรยา


 "การทำโครงการจิตอาสาครั้งนี้ทำให้ผมรู้สึกประทับใจอย่างมาก ที่ได้มีโอกาสช่วยเหลือเด็กๆวัยกำลังโตกำลังเรียนรู้ที่ถูกพ่อแม่ทอดทิ้ง ให้มีความสุขด้วยการไปทำความสะอาดสถานที่ที่เด็กๆใช้เล่นเพื่อเรียนรู้พัฒนาทักษะ แม้จะเป็นการช่วยเหลือทางอ้อมแต่นั้นทำให้รู้สึกอิ่มบุญที่ได้ทำความดีให้เกิดประโยชน์แก่อนาคตของชาติ ซึ่งบางคนมีโอกาสได้รับไปเลี้ยงบุญธรรมมีชีวิตที่ดีขึ้นจากเดิมมาก โครงการนี้นับเป็นโครงการที่มีกุศลมากทีเดียว"
ทิชาคม ลัดพลี 







วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โครงการ ดูแลผู้บริจาคเลือด กับสภากาชาดไทย


ชื่อโครงการ “ดูแลผู้บริจาคเลือด กับสภากาชาดไทย”

รหัส-ชื่อวิชา            National Resource 2305100
ลักษณะกิจกรรม     เน้นการมีส่วนร่วมกับชุมชน          
           











                

หลักการและเหตุผล
                เนื่องด้วยในสภาวะปัจจุบัน มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นช่วงเทศกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลสำคัญของประเทศไทย 2 เทศกาลสำคัญ คือเทศกาลปีใหม่ และเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลที่มีผู้ประสบอุบัติเหตุเป็นจำนวนมาก ทำให้สถานพยาบาลต่างๆ มีความต้องการและมีความจำเป็นในการใช้เลือดในปริมาณที่เพิ่มขึ้น เพื่อใช้ในการเยียวยาและช่วยเหลือผู้ประสบเหตุเหล่านั้น จึงทำให้ปริมาณเลือดที่มีอยู่ในสถานพยาบาลแต่ละแห่งถูกนำไปใช้ และมีปริมาณลดลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อทำให้ปริมาณเลือดที่สำรองอยู่ในสถานพยาบาลมีอยู่อย่างเพียงพอ และสามารถส่งเลือดไปยังสถานพยาบาลได้ทันเวลา จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เจ้าหน้าที่เป็นจำนวนมากในการให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่มาบริจาคเลือด และเพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ประจำสภากาชาดไทย และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น และตระหนักถึงความสำคัญของจิตอาสา กลุ่มนิสิตจึงมีแนวคิดที่จะไปอาสาช่วยเหลือดูแล และอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาบริจาคเลือด ให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม

วัตถุประสงค์
·       เพื่อช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาบริจาคเลือด
·       เพื่อให้รู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
·       เพื่อส่งเสริมให้นิสิตรู้จักและตระหนักกับคำว่าจิตอาสา และฝึกฝนการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม
·       เพื่อส่งเสริมให้นิสิตรู้จักการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น

สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ
                6.1 นายสรวิศ เจนชัยกิจวนิช                           5430625021         คณะวิศวกรรมศาสตร์
                6.2 นายสันติวงศ์ บุญเรือง                                5430634621         คณะวิศวกรรมศาสตร์
                6.3 นางสาวสรัลพร เผ่าพงษ์จันทร์                 5440219522         คณะอักษรศาสตร์
                6.4 นางสาวชนากาญจน์ แสงนภาฉาย          5433657623         คณะวิทยาศาสตร์
                6.5 นายปกรณ์ จันทร์โพธิ์ศรี                            5542053026         คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

ช่วงเวลา-สถานที่ที่ทำโครงการ
วันเสาร์ที่ 19 มกราคม 2556 เวลา 8.30-16.00 น. ณ สภากาชาดไทย

กระบวนการดำเนินโครงการ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
                
26 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2555 ประชุมคิดโครงการและเขียนโครงการ รวมทั้งกำหนดบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่ม
3 - 8 ธันวาคม  2555      ส่งโครงการและเสนอแผนร่างโครงการแก่อาจารย์ที่ปรึกษา
7 –12 มกราคม 2556     ติดต่อสอบถามข้อมูลและวันเวลาที่สะดวกในการทำกิจกรรมกับเจ้าหน้าที่ประจำสภากาชาดไทย    
                                             และเตรียมอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ (ถ้ามี)
20 -21 มกราคม 2556       ดำเนินโครงการ “ดูแลผู้บริจาคเลือด กับสภากาชาดไทย” ที่สภากาชาดไทย
22 - 23 มกราคม 2556      สรุปผลการดำเนินโครงการและประเมินผล
               
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ “ดูแลผู้บริจาคเลือด กับสภากาชาดไทย”
  • สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการบำเพ็ญประโยชน์ในครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
  • ได้รับประสบการณ์ใหม่ ในการทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น และรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น ตลอดจนการสร้างมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง
  • รู้จักการทำงานเพื่อส่วนรวม สังคม ประเทศชาติรู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 

ความประทับใจในการดำเนินโครงการ

การดำเนินงานจิตอาสา “ช่วยเหลือผู้บริจาคเลือด” ณ วันเสาร์ที่ 26 มกราคม 2556 นับว่าเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผมได้ไปสภากาชาด เป็นครั้งแรก ทางพี่พนักงานก็ต้อนรับพวกเราอย่างอบอุ่น เพราะทราบอยู่แล้วว่า พวกเรามาช่วยแบ่งเบาภาระของพี่พนักงาน จากนั้น ก็ได้มอบหมายภารกิจ เป็น คนหนึ่งกดบัตรคิว และคนที่เหลือให้กดปุ่มวัดความดัน นี่คือหน้าที่หลักของพวกเรา ซึ่งอาจจะมีหน้าที่เพิ่มเติมเช่น ช่วยเรียงลำดับงานประกวดเกี่ยวกับการบริจาคเลือด เป็นต้น ตามปกติแล้วคนที่มาบริจาคเลือด จะไม่มีมากมายจนคนยืนเบียดกัน แต่ในวันนั้น มีการจัดกิจกรรมที่หน้าสภากาชาดพอดี ทำให้ผู้คนที่จะมาบริจาคเลือดนั้น มีมากเสียจนต้องยืนต่อคิวยาวมากเพื่อวัดความดัน แปลว่า พวกเรามาช่วยแบ่งเบาภาระของพี่พนักงานได้เป็นอย่างดี จากประสบการณ์ที่ได้รับในงานจิตอาสาครั้งนี้ ทั้งความเมื่อยล้าที่ต้องยืนติดต่อกันถึง 4 ชั่วโมง มันก็นับว่าคุ้มกับการได้คำว่า “ขอบคุณ” จากบุคคลที่พวกเราไม่เคยรู้จักเพียงครั้งเดียว
นายปกรณ์ จันทร์โพธิ์ศรี    5542053026

จากที่ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมทำกิจกรรมจิตอาสาซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้ไปทำกิจกรรมที่สภากาชาดไทย ข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจและภูมิใจในตนเองมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ได้ช่วยเหลือสังคม โดยข้าพเจ้าได้เข้าไปช่วยเจ้าหน้าที่ที่สภากาชาดไทยในส่วนของการวัดความดัน แม้จะเป็นส่วนเล็กๆของสภากาชาดไทย แต่ข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนได้ทำประโยชน์มากมาย การทำกิจกรรมจิตอาสาครั้งนี้ ช่วยให้ข้าพเจ้าเปึนผู้มีอัธยาศัยดีขึ้น ทำให้ข้าพเจ้ามีระเบียบมากขึ้น และยังช่วยให้ข้าพเจ้ามีจิตสาธารณะและน้ำใจแก่คนในสังคมมากขึ้น ข้าพเจ้าได้รับประโยชน์มากมายจากการทำกิจกรรมในครั้งนี้เป็นอย่างมาก และข้าพเจ้าหวังว่าจะได้มีโอกาสได้ร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์เช่นครั้งนี้อีกภายภาคหน้า
นส.สรัลพร เผ่าพงษ์จันทร์ 5440219522

จากการที่กลุ่มของฉัน ได้ไปทำโครงการจิตอาสาที่สภากาชาดไทย ฉันมีความประทับอยู่หลายอย่าง
อย่างแรก คือฉันประทับใจที่ฉันได้มีส่วนร่วมในการช่วยให้ผู้อื่นมีโอกาสมีชีวิตรอดมากขึ้น ฉันได้ทำงานที่เป็นอาสาสมัคร ที่ฉันไม่เคยได้ทำมาก่อน อย่างที่สอง แม้ว่าไม่ได้อะไรเป็นการตอบแทนจากการทำจิตอาสาครั้งนี้ แต่ฉันก็ได้เห็นรอยยิ้มเล็กๆของผู้ที่มาบริจาคเลือดและของเจ้าหน้าที่ที่ฉันไปช่วยเขา และฉันยังได้รับคำขอบคุณจากผู้มาบริจาคเลือดและเจ้าหน้าที่ อย่างสุดท้ายคือ ฉันได้มีโอกาสได้เห็นผลงานของผู้สมัครเข้าประกวดโปสเตอร์เพื่อรณรงค์ให้บริจาคเลือด ฉันได้เห็นแนวคิดแปลกใหม่ๆ ผลงานสวยๆของคนอื่น การได้ไปทำงานจิตอาสาในครั้งนี้ ทำให้ฉันได้รับประสบการณ์ทีแปลกใหม่ เช่น ทำให้ฉันรู้ว่า มีคนอยากบริจาคเลือดมาก แต่ในคนจำนวนมากนั้นไม่มีโอกาสได้บริจาค เนื่องด้วยความไม่พร้อมต่างๆ ทำให้ฉันรู้จักอดทน ทำให้ฉันได้ยืนติดต่อกันเป็นเวลานานหลายชั่วโมงได้ ทำให้ฉันรู้จักการช่วยเหลือ การเสียสละแก่ผู้อื่น เป็นต้น ฉันหวังว่าหากครั้งหน้าฉันมีโอกาส ฉันคงจะไปทำโครงการจิตอาสาที่สภากาชาดไทยอีกแน่นอน
ชนากาญจน์ แสงนภาฉาย  5433657623 

ความประทับจากการที่ได้ไปดำเนินงานที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติในวันเสาร์ที่ 26 มกราคม 2556 คือ ได้มีส่วนร่วมในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม อำนวยความสะดวกและแนะนำขั้นตอนวิธีการใช้บริการ แม้จะเป็นการช่วยเพียงเล็กๆน้อยๆ เช่น กดบัตรคิวให้แก่ผู้มาบริจาคโลหิต โดยแยกประเภทการกดบัตรคิวไปตามเงื่อนไขต่างๆ ของผู้มาบริจาค เช่น แยกเพศ แยกประเภทการบริจาค บางคนมาบริจาคเกล็ดโลหิต บางคนมาบริจาคโลหิต ซึ่งพอดีวันนั้นตรงกับวันเสาร์ทำให้มีผู้มาบริจาคโลหิตจำนวนมาก จึงเกิดความสับสนเล็กน้อยแต่ก็สนุกและประทับใจผู้มาบริจาคโลหิต เพราะพวกเขาเป็นคนใจบุญ ยิ้มแย้ม ทักทายและเป็นกันเอง หลังจากกดบัตรคิวก็ได้สลับตำแหน่งกับสมาชิกในกลุ่มไปวัดความดันโลหิต ซึ่งผู้มาบริจาคโลหิตต้องมาวัดความดันก่อนการเจาะโลหิตทุกคน ดังนั้นทางฝ่ายนี้จึงค่อนข้างยุ่งและวุ่นวายกว่าการกดบัตรคิว อย่างไรก็ตามความประทับใจที่เกิดขึ้นในด้านนี้คือ การทำงานต้องเป็นระบบและรวดเร็ว เนื่องจากมีคนมาใช้บริการจำนวนมาก ได้พูดคุยกับผู้มาบริจาคโลหิตให้ปฏิบัติตามขั้นตอน เช่น การสอดแขนเข้าเครื่องวัดให้ถูกวิธี บอกให้เซ็นชื่อตามช่องที่เขาลืม  และจัดการเย็บเอกสารให้เรียบร้อย   อย่างไรก็ตามผมภูมิใจมากที่ได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมเช่นนี้ และอยากให้มีกิจกรรมเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ
สรวิศ  เจนชัยจิตรวนิช  5430625021  


เมื่อวันเสาร์ที่ 26 มกราคม 2556 ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาของวิชาทรัพยากรธรรมชาติ (Natural resource) ที่สภากาชาดไทย โดยการทำงานนั้นเป็นการดำเนินงานในส่วนของอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่มาบริจาคโลหิต ซึ่งในการทำงานดังกล่าวประกอบด้วย การช่วยกดบัตรคิว ช่วยในเรื่องของการวัดความดัน ช่วยในการทำป้ายนิเทศรณรงค์การบริจาคโลหิต ขณะที่ทำกิจกรรมนั้นก็ได้เกิดความประทับใจขึ้นมากมาย เช่น ในวันนั้นเนื่องจากเป็นวันเสาร์จึงทำให้มีคนมาบริจาคโลหิตจำนวนมากเป็นพิเศษ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจที่จะให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และยังแสดงให้เห็นถึงความใจบุญและอยากทำบุญของคนไทย ซึ่งบางท่านที่มาบริจาคเลือดนั้น ก็ได้พาลูกมาร่วมกันทำบุญด้วย ถึงแม้ว่าจะอายุยังไม่ถึงเกณฑ์ที่สามารถบริจาคได้ (17ปี) แต่ก็มีหนังสือยินยอมมารับรองด้วย และมีอยู่ท่านหนึ่งที่มาร่วมบริจาค ซึ่งได้เดินเข้ามาสอบถามข้อมูลและขอให้ช่วยกรอกข้อมูลเกี่ยวกับการบริจาคเลือดให้ เนื่องจากตนเองไม่สามารถเขียนหนังสือได้ แต่ก็ยังมาบริจาค ทำให้นึกย้อนกลับไปว่า คนเราไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ถ้าหากมีจิตใจและความตั้งใจที่จะทำบุญอย่างแน่วแน่แล้ว ย่อมไม่มีอุปสรรคใดๆมาขัดขวาง ซึ่งตนก็มีความตั้งใจที่จะมาบริจาคหลายครั้งแล้ว แต่ก็ยังหาโอกาสที่เหมาะสมมาไม่ได้ ทั้งนี้อีกความประทับใจหนึ่งคือการที่เจ้าหน้าที่ของสภากาชาดได้ให้โอกาสนิสิตได้มีโอกาสในการช่วยเหลือสังคมซึ่งถือเป็นการให้โอกาสที่จะทำให้นิสิตได้รู้จักการช่วยเหลือผู้อื่น ให้รู้จักการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้รู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และสอนให้รู้จักการเป็นจิตสาธารณะ สุดท้ายนี้ความประทับใจที่สุดของการทำกิจกรรมนี้คือน้ำใจของคนไทยทุกคนที่ยอมที่จะเสียสละสิ่งเล็กๆน้อยๆ เพื่อเป็นการให้ชีวิตหรือต่อชีวิตให้กับผู้อื่น
นายสันติวงศ์  บุญเรือง
5430634621




ปันรัก ปันยิ้ม


โครงการจิตอาสา

ปันรัก ปันยิ้ม

วิชา ทรพัยากรของชาติ (National Resources)

                จิตอาสา คือ การมีจิตใจที่เป็นผู้ให้ เช่น ให้สิ่งของ ให้เงิน ให้ความช่วยเหลือ ด้วยกำลังแรงกาย แรงใจ หรือแม้กระทั่งแรงสมอง ซึ่งเป็นการเสียสละสิ่งที่ตนเองมี รวมทั้งเวลา เพื่อทำประโยชน์ให้กับส่วนรวม
              


อาจารย์ที่ปรึกษา   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เตือนใจ โก้สกุล

นิสิตที่เข้าร่วมโครงการ
                         1นายจิรกฤต      ชุนหคันธรส
                    2. นายชานนท์     พัชรพจนารถ

                    3..ชญาณี      หิรัญญะสิริ
                    4..นิชาธร      จำปา
                    5. ..ภคมน       เรืองวรรณ  



สถานที่ :   โรงเรียนวัดหัวลำโพง  
ช่วงเวลา :  วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ..2556

วัตถุประสงค์

           เป้าหมายของโครงการคือ การนำความรู้เกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนไปถ่ายทอดให้กับเด็กๆ ช่วยปลูกฝักการดำเนินชีวิตโดยตระหนักถึงผลเสียของสภาวะโลกร้อน  เพื่อที่จะได้นำความรู้ที่ได้รับ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผลดีต่อทั้งตนเองและสังคมโลกต่อไป รวมทั้งสร้างความสนุกสนาน ความบันเทิง  และสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กๆอีกด้วย




 ผลผลิตของโครงการ/กิจกรรมและตัวชี้วัดรวมถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1.ได้นำความรู้เรื่องสภาวะโลกร้อนที่ได้จากห้องเรียนไปเผยแพร่ต่อให้กับเด็กๆ

  2. ฝึกความสามัคคี และการทำงานกลุ่ม


ความประทับใจของนิสิตที่ร่วมกิจกรรม

" รู้สึกประทับใจมากที่ได้มามีส่วนร่วมในการช่วยสอนน้องๆเด็กๆ ป.1ที่วัดหัวลำโพง สนุกการการที่ได้สอนเนื่องจากน้องๆ เด็กๆ ยังไม่ค่อยรู้ประสีประสาทำให้เราพบกับอีกหนึ่งมุมมองที่เราไม่ค่อยได้เห็นในชีวิตประจำวันเช่นการเดินค่อมตัวเมื่อผ่านเราซึ่งก็เป็นสิ่งที่คุณครูที่โรงเรียนสอนมาให้มีมารยาท เด็กๆยังชอบการวาดภาพระบายสีอีกด้วย สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เปิดกว้างทำให้น้องๆเด็กๆได้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทำให้ความคิดเปิดกว้าง "
จิรกฤต ชุณหคันธรส 

" กิจกรรมเป็นไปอย่างสนุกสนาน เด็กๆทุกคนตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างดีเยี่ยม รวมทั้งยังได้สอนเด็กๆพับกระดาษ ซึ่งเป็นกระดาษรีไซเคิล ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องที่สอน คือการนำเอาเศษวัสดุที่ใช้แล้ว มาดัดแปลงตกแต่งให้เป็นของที่ใช้ได้อีกครั้ง ซึ่งเป็นการลดขยะ โดยเด็กๆ ทำผลงานออกมาได้ดี และภาคภูมิใจในผลงานของตัวเอง ทำให้ข้าพเจ้าภูมิใจและประทับใจ ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เด็กๆมีความสุขและได้รับความรู้ไม่มากก็น้อยในการช่วยลดโลกร้อน ที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป "

..ชญาณี  หิรัญญะสิริ

" กลุ่มของข้าพเจ้าได้ไปทำกิจกรรมที่โรงเรียนวัดหัวลำโพง สิ่งที่ประทับใจคือ น้องๆทุกคนให้ความร่วมมือในการเรียนรู้เรื่องสภาวะโลกร้อนและในการทำกิจกรรมนันทนาการอย่างยิ้มแย้มแจ่มใส ตั้งใจฟังการให้ความรู้และสามารถตอบคำถามได้อย่างชัดเจน แล้วน้องๆก็ให้ความสนใจในพี่ๆทุกคน เล่นด้วย พูดคุยด้วยอยู่ตลอด และในตอนท้ายกิจกรรม น้องๆได้พูดความประทับใจถึงพี่ๆ ที่ทำให้ข้าพเจ้าได้รู้ว่า น้องๆก็ตระหนักในสภาวะโลกร้อน และพร้อมจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดสภาวะโลกร้อนนี้ด้วย "


        น.ส. นิชาธร     จำปา
" หลังจากที่ข้าพเจ้าได้ทำกิจกรรมจิตอาสาแล้วก็รู้สึกประทับใจน้องๆนักเรียนที่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี ทำให้กิจกรรมครั้งนี้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามจุดประสงค์ที่ผู้จัดกิจกรรมต้องการ และตัวข้าพเจ้าเองก็มีความสุขเป็นอย่างมากที่ได้นำความรู้ที่เรามีไปถ่ายทอดให้กับผู้อื่นเพื่อที่จะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม "
  นาย ชานนท์ พัชรพจนารถ

" กลุ่มเราได้ไปทำจิตอาสาที่โรงเรียนวัดหัวลำโพงกับนักเรียนชั้นป.1 ได้แบ่งปันความสุขให้กับน้องๆ โดยสอนน้องเรื่องโลกร้อน วิธีการลดโลกร้อน จัดกิจกรรมวาดรูปประกวด และพับกระดาษรูปหัวใจนอกจากนี้ยังมีตอบคำถามรับรางวัล พอได้เห็นรอยยิ้มของเด็กๆก็ทำให้เรารู้สึกหายเหนื่อย มีความสุขที่ได้เป็นผู้ให้ ตอนแรกคิดว่าแค่ไปสอนแล้วก็กลับ แต่พอไปจริงๆแล้วก็ไม่อยากกลับเลยค่ะ น้องๆน่ารักให้ความร่วมมือดีมากๆ ดิฉันคิดว่าถ้ามีโอกาสจะไปช่วยสอนเด็กๆอีก "
 น.ส. ภคมน เรืองวรรณ 











วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โครงการจิตอาสา "คืนชีพให้กระดาษ"

โครงการจิตอาสา
คืนชีพให้กระดาษ
วิชา ทรพัยากรของชาติ (National Resources)


อาจารย์ที่ปรึกษา   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เตือนใจ โก้สกุล

นิสิตที่เข้าร่วมโครงการ

1. นายอนุวัฒน์ วัฒนา 
2. นายอดิเทพ  สุทธาวาส
3.นายอภิวัฒน์ โชคบุญเปี่ยม 
4.นางสาวพชรวรรณ  มีสมบูรณ์  
5.นางสาววิรชา  เมธาชวลิต             

สถานที่ :   ณ บ้านจิตอาสา
ช่วงเวลา :  วันเสาร์ที่ 20 มกราคม 2556 

                     ในปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่ามีเด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาสใยด้านการศึกษาอยู่ มากมาย ทางกลุ่มของข้าพเจ้าเลยอยากที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการเข้าไปช่วยพัฒนา เพื่อให้เด็กและเยาวชนเหล่านี้ได้มีอุปกรณ์การเรียนที่ดีมีคุณภาพ โดยที่กลุ่มของข้าพเจ้าจึงจะไปทำสมุดโดยใช้กระดาษที่เหลือใช้แล้วสามารถนำ กลับมาใช้ใหม่มาทำสมุดให้กับเด็กและเยาวชนเหล่านี้
  



วัตถุประสงค์ 

1.เพื่อให้นิสิตมีจิตสาธารณะและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
2.ใช้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า
3.ใช้วัสดุเหลือใช้ให้เป็นประโยชน์
4.เพื่อก่อให้เกิดความมีส่วนร่วมในงานด้านจิตอาสาและการแบ่งปนต่อสังคม
5.เพื่อแสดงให้เห็นว่ากระดาษที่เหลือใช้เหล่านั้นยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และยังมีประโยชน์อยู่







ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ
1.ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
2.ใช้วัสดุเหลือใช้และทรัพยากรธรรมชาตินำมาใช้ให้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
3. มีจิตอาสา มีส่วนร่วมในการแบ่งปันและช่วยเหลือสังคม
4.รู้จักการนำกระดาษที่เหลือใช้นำกลับมาใช้ใหม่และอีกทั้งยังเกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นด้วย