วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555
รู้จักกับวิชา Thai Coast Com Dev
เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ วิชา THAI
COAST COM DEV (0201131) หรือในชื่อภาษาไทย การพัฒนาชุมชนชายฝั่งทะเลไทย ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าต้องเกี่ยวกับทะเลแน่นอน ซึ่งก็จะเกี่ยวข้องกับ ชายฝั่งชุมชน 3 สมุทรนั้นเอง นั้นประกอบไปด้วยจังหวัด สมุทรปราการ สมุทรสงคราม และ สมุทรสาคร
ซึ่งวัตถุประสงค์ของรายวิชานี้นั้นจะทำให้นิสิตมีความรู้
ความเข้าใจจากการที่ได้เรียนรู้และได้ไปเห็นด้วยตนเองเกี่ยวกับ วิถีชีวิต วัฒนธรรม
อัตลักษณ์ของชุมชนรูปแบบต่างๆที่อยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลของประเทศไทย
เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กว้างไกล เปลี่ยนแปลงทัศนคติ
และตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมประจำถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น
และทรัพยากรธรรมชาติชายฝั่งทะเล
นิสิตจะถูกสอนโดยใช้กรณีศึกษาเพื่อให้สามารถประเมินสถานภาพของชุมชน
และวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม เพื่อวางแผนการพัฒนาของชุมชน ทำให้ได้มีโอกาสพัฒนากระบวนคิดอย่างเป็นระบบแบบบูรณาการซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับนิสิตเมื่อจบจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้วออกไปสู่ชุมชนเพราะนิสิตจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรที่ตนเองเข้าไปมีส่วนร่วมได้ง่าย
ด้วยคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 9 ด้านของบัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และสามารถเป็นเสาเข็มของชุมชนเหมือนกับที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเสาหลักของแผ่นดิน
ภาพกิจกรรมการออกภาคสนาม
ทํศนศึกษาชุมชนชายทะเลจังหวัดสมุทรปราการ
เป็นการออกภาคสนาม ณ ชุมชนบ้านคลองยายหลี และ ชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน
จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งนิสิตจะได้เรียนรู้กระบวนการผลิตขนมดอกลำเจียก,การทำน้ำพริกกุ้งเสียบ,การทำน้ำหมักจุลินทรีย์
และการทำบ่อเลี้ยงกุ้งของชุมชนบ้านคลองยายหลี อีกทั้งยังได้เรียนรู้การต่อสู้และป้องกันกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล
,พิพิธภัณฑ์ของโบราณ ,สักการะศาลเจ้าพ่อหนุ่มน้อยลอยชาย
,ชมวัดขุนสมุทรจีนป่าชายเลน และแนวป้องกันคลื่น 49A2 ของชุมชนขุนสมุทรจีน
ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตมีความรู้ ความเข้าใจ
จากการที่ได้เรียนรู้และได้ไปเห็นด้วยตนเองเกี่ยวกับชีวิต วัฒนธรรม อัตลักษณ์ ของชุมชนรูปแบบต่างๆที่อยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลของประเทศไทย
ทํศนศึกษาชุมชนชายทะเลจังหวัดสมุทรสาคร-สมุทรสงคราม
เป็นการออกภาคสนาม ณ จังหวัดสมุทรสาคร และ สมุทรสงคราม ซึ่งได้เยี่ยมชมนวัตกรรมการทำนาเกลือสมุทรบางหญ้าแพรก
, ชมวิสาหกิจชุมชน:
การทำกะปิ บ้านบางกระเจ้า , ชมสภาพการฟื้นตัวของป่าชายเลน
“ปลูกโดยไม่ปลูก” , ฟังการบรรยายความเป็นมาของโครงการฯของศูนย์การเรียนรู้แนวไม้ไผ่ชะลอคลื่น
บ้านโคกขาม และร่วมกันปลูกต้นกล้าโกงกาง และนั่งเรือชมหิ่งห้อยที่ตลาดน้ำอัมพวา
ของจังหวัดสมุทรสาคร จากนั้นได้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ชุมชนเขายี่สาร
, ชมวิสาหกิจชุมชนการเผาถ่านโกงกาง และศึกษาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนที่ดอนหอยหลอด
ของจังหวัดสมุทรสงคราม
กิจกรรมต่างๆในการออกภาคสนามนั้นเพื่อให้นิสิตมีความรู้ ความเข้าใจจากการที่ได้เรียนรู้และได้ไปเห็นด้วยตนเองเกี่ยวกับ
วิถีชีวิต วัฒนธรรม
อัตลักษณ์ของชุมชนรูปแบบต่างๆที่อยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลของประเทศไทย เพื่อให้นิสิตเปิดโลกทัศน์ให้กว้างไกล
เปลี่ยนแปลงทัศนคติ และตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมประจำถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น
และทรัพยากรธรรมชาติชายฝั่งทะเลของประเทศไทย
ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.gened.chula.ac.th/cms/courses_details_th.php?s_id=0201131
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)